VMWare Server
เลือกตัวที่เป็น .tar.gz นะครับจะได้ไฟล์ VMware-server-2.0.2-203138.i386.tar.gz ซึ่งเป็น version ล่าสุดขณะเขียน Blog นี้ จากนั้นทำการโหลด Script Install ที่
vmware-server-2.0.x-kernel-2.6.3x-install.sh
ตัว Script เป็น Script ที่จะำทำการโหลด Patch ให้อัตโนมัตินะครับรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก
https://help.ubuntu.com
เมื่อทำการโหลดทั้งสองไฟล์มาแล้ว
animal@animal-desktop:~/Downloads$ ls
VMware-server-2.0.2-203138.i386.tar.gz
vmware-server-2.0.x-kernel-2.6.3x-install.sh
สร้างรหัสผ่านให้ root โดยพิมคำสั่ง
sudo passwd root
แล้วใส่รหัสผ่านที่ต้องการ จาำกนั้นให้ทำการ chmod โดยพิม
chmod +x
vmware-server-2.0.x-kernel-2.6.3x-install.sh
แล้วทำการรันไฟล์โดยพิม
vmware-server-2.0.x-kernel-2.6.3x-install.sh
Script จะทำการดาวน์โหลด patch แล้วจะเข้าสูขั้นตอนของการติดตั้ง vmware server ปกติ โดยถ้าเลือก Default จะเป็นการใช้งาน port 8222 สำหรับ http และ 8333 https สำหรับชื่อ login ที่เข้าใช้งานคือ root และรหัสผ่านได้ทำการสร้างไว้จากขั้นตอนข้างบน(จริงๆแล้ว สามารถเลือก user อื่นได้จากขั้นตอนการติดตั้งด้วยนะครับ)
สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Guest OS นั้นสามารถทำการติดตั้งผ่านหน้าเว็บได้เลยโดยใช้
http://localhost:8222
เลือก Add DataStore(สำหรับผู้ที่จะติดตั้งโดยใช้ไฟล์ .iso นะครับ)
จะมี Popup ให้กรอกชื่อ Data Store ที่เราต้องการแล้วใส่ path ของตำแหน่งไฟล์ลงไปด้วย(ตัว Data Store จะเป็นตำแหน่งที่สามารถเก็บ Image ของ Vmware ได้ด้วยนะครับถ้าใครไม่ต้องการ Default ของโปรแกรมก็สามารถเปลี่ยนได้โดยการสร้างตำแหน่ง Data Store ขึ้นมาใหม่)
จากนั้นเลือก Create Virtual Machine
จะมี Popup ขึ้นมาตรงนี้คือที่ที่เราต้องเลือกว่าจะเก็บ Image ของ vmware ไว้ที่ใด ตรงชื่อ Name คือชื่อ Guest Os ของเรา
สำขั้นตอนต่อไปคือการเลือก Os ให้เลือก Os ที่เราต้องการทำการติดตั้ง
สำหรับ ram และ harddisk นั้นให้เราเลือกตามความเหมาะสมได้เลยครับหรือจะใช้ค่า Default ก็ให้กด Next ผ่านไปได้เลย จนถึงหน้า network adapter ให้เลือกเป็น NAT
ตรงส่วน Cd/Dvd Drive ให้เลือก Use an iso image
แล้วจะแสดงหน้า Browse ไฟล์ซึ่งเราจะสามารถเลือกไฟล์ได้จาก DataStore ที่เรามีอยู่ให้เลือก .iso จาก DataStore ที่เราได้สร้างขึ้นมา(ใน path ที่เราสร้าง DataStore ต้องมีไฟล์ .iso ด้วยนะครับ)
สำหรับ Floppy และ Usb ผมเลือกเป็น Don't Add นะครับเพราะไม่ได้ใช้ถ้าใครใช้ก็สามารถ Add เข้าไปได้หลังจากกด Finish แล้วให้เราเลือก Guest Os จากตรง Inventory Panel แล้วคลิกไปที่แท็บ Console
จะพบว่า Console ไม่สามารถใช้งานได้ให้เราติดตั้ง Plugin ก่อนโดยกด Install-plubin ได้เลยเมื่อ Restart กลับเข้ามาแล้วให้เราคลิกเบาๆ ลงไปตรงที่กด Install-plugin เมื่อกี้จะมีหน้าต่าง Remote Console ขึ้นมา
จากนั้นก็ติดตั้งตามขั้นตอนของ OS ได้เลยครับ
0 comments:
Post a Comment